วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ


บทที่ 4 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
ความหมายของความมีประสิทธิผลและความมีประสิทธิภาพ
ความมีประสิทธิภาพ นอกจากมีความหมายถึง ความคล่องแคล่ว ชำนาญ ในการใช้ทรัพยากร (แรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ) การเปรียบเทียบความมีประสิทธิผลกับต้นทุน ฟอร์ร่าและเดบบี้ (Flora & Debbie, 1996, p. 131) ยังให้คำนิยามไว้ว่า เป็นผลลัพธ์ที่ได้รับอย่างดีนั่นคือ ผลิตสินค้าได้คุณภาพ ในวิธีที่ดีที่สุด เวลาสั้นที่สุด ประสิทธิผลต้นทุนดีที่สุด
                ส่วนคำว่า ความมีประสิทธิผล  เป็นคุณภาพของงาน ความน่าเชื่อถือ ความพึงพอใจของลูกค้า ความรับผิดชอบ ลักษณะรูปทรงงดงาม ความสะอาด ความสะดวก ความสบาย  การสื่อสาร ความสุภาพอ่อนโยน ควรมีสมรรถนะ ความมีพร้อม ความยืดหยุ่น ยืดหยุ่นด้านปริมาณ ยืดหยุ่นด้านความรวดเร็วของการส่งมอบงาน (ตรงเวลา) ยืดหยุ่นด้านข้อกำหนดเฉพาะ (ทำตามที่ลูกค้าประสงค์) ทั้งยังหมายง นวัตกรรม ความคิดริเม ฯลฯ ดังที่ ฟอร์ร่าและเดบบี้ (Flora & Debbie, 1996) นิยามคำว่า ความมีประสิทธิผล ว่าการผลิตได้ผลลัพธ์ดังที่ตั้งใจไว้ นั่นคือ ผลิตได้ผลผลิตตามที่ลูกค้าต้องการ (คุณภาพสูง ตรงเวลา)

4C ของคุณภาพ (The Four C’s of Quality)
เป้าหมายคุณภาพขององค์การและของส่วนตัวประกอบด้วย
1.             ความมุ่งมั่น (Commitment)
ความมุ่งมั่น เปรียบได้กับจิตวิญญาณของนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมคนเดียวนับร้อยนับพันครั้งก่อนเข้าแข่ง
2.             ความสอดคล้อง (Compllance)
ต้องทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ตอบรับกับความต้องการของลูกค้า จึงเรียกได้ว่า ทำงานมีคุณภาพ
3.             สมรรถนะ (Competency)
เป็นความรู้ความมามารถ ที่จะทำให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เป็นการรู้วิธีการทำงาน
4.             การสื่อสาร (Communication)
เป็นสัญญาส่วนตัวที่สำคัญและเป็นข้อตกลงเสมอภาคระหว่างฝ่ายบริหารกับผู้ปฏิบัติงานว่าจะทำให้งานไหลอย่างสม่ำเสมอ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
1.             มาตรฐานที่กำหนดควรใกล้กับความคิดความบกพร่องเป็นสูญ แม้ว่าคนจะทำผิดพลาดบ้างก็ตาม
2.             ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานมีผลกระทบควรมีส่วนร่วมกำหนด วางแผนงาน และทุกคนเห็นชอบ
3.             ควรกล่าวอย่างชัดเจน สมบูรณ์ เป็นลายลักษณ์อักษร
4.             ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
5.             ต้องเป็นที่เข้าใจและทำงานได้
6.             ไม่ให้ใครมาบิดผันมาตรฐานไม่ว่าด้วยเหตุผลใด
7.             ฝ่ายบริหารระดับสูงให้การสนับสนุน
8.             ควรมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
9.             มีการเพิ่มเติมความจำเป็น ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องต้องยินยอมเป็นข้อตกลงใหม่
10.      เขียนในลักษณะให้รู้ว่าแท้จริงลูกค้าต้องการอะไร
11.      ควรจะสะท้อนเจตคติด้านบวก
12.      มุ่งที่ผลลัพธ์
13.      มีการกล่าวถึงการให้รางวัล คำชมเชย หรือบำรุงขวัญกำลังใจ
14.      ต้องทำการอย่างเอาจริงเอาจัง
15.      ต้องมีโปรแกรมการศึกษา การพัฒนา การฝึกอบรมไว้ด้วย
16.      ต้องสะท้อนเป้าหมายขององค์การ
17.      กำหนดให้ทุกฝ่าย แผนก หน้าที่กระทำ กระทำสอดคล้องกัน
18.      ให้มีการตรวจสอบ ตรวจประเมินได้อย่างเป็นอิสระ
19.      สร้างสรรค์และดำเนินการด้วยความใส่ใจ
20.      สื่อสารอย่างทั่วถึงต่อเนื่อง
การสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
1.             การลดต้นทุนคุณภาพ
1.1                              ต้นทุนคุณภาพ เป็นเงินต้นทุนที่ทำให้มั่นใจ ว่าลูกค้าจะได้รับสินค้าหรือคุณภาพสูงสุด ในองค์การจำนวนมากต้นทุนดำเนินงานส่วนมาก ใช้ในการทำผิดพลาด และความสูญเสียอีกนานานับประการ
1.2                   การวิเคราะห์ต้นทุนคุณภาพ จะช่วยให้เห็นว่า มีต้นทุนสำคัญมากมายซ่อนอยู่
1.ต้นทุนป้องกัน
                ต้นทุนของกิจกรรมทุกชนิดที่ออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคุณภาพที่ไม่ดี หรือบริการที่บกพร่อง หรือข้อบกพร่องในการส่งมอบงานบริการ
2.ต้นทุนประเมิน
                ต้นทุนเกี่ยวกับการตรวจวัด การประเมินผล การตรวจประเมินการส่งมอบบริการ เพื่อให้มั่นใจว่าการบริการเป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดผลการดำเนินงาน
3.ต้นทุนล้มเหลว
                เป็นต้นทุนที่เกิดจากการทำงานไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด หรือความต้องการของลูกค้า ต้นทุนล้มเหลวแบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ ต้นทุนล้มเหลวภายในและต้นทุนล้มเหลวภายนอก
2.             การลดความสูญเปล่า
1.             ผลิตมากเกินไป
2.             ผลิตบกพร่อง/แก้ไขงาน
3.             เวลารอคอย/ความล่าช้า
4.             สินค้าคงคลังมาก/งานอยู่ระหว่างผลิต
5.             การขนของ
6.             กระบวนการที่ขาดประสิทธิผล
7.             การเคลื่อนไหว-การกระทำที่ไม่จำเป็น



วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ทักษะในการเล่นวอลเลย์บอล
การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมีทักษะส่วนบุคคลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเล่นหลายประเภท ซึ่งผู้เริ่มเล่นวอลเลย์บอลจำเป็นต้องเริ่มฝึกในพื้นฐานเหล่านี้ สำหรับในตอนนี้จะได้นำเสนอทักษะต่างๆที่จำเป็นสำหรับการเล่นวอลเลย์บอลในภาพรวมทุกทักษะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าแต่ละทักษะมีวิธีการและความสำคัญอย่างไร
รูปแบบทักษะพื้นฐาน ซึ่งทักษะทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ในการแข่งขัน ในการฝึกนอกจากผู้เล่นจะสามารถปฏิบัติทักษะพื้นฐานทั้งหมดได้แล้วยังต้องสามารถเชื่อมโยงการเล่นในแต่ละทักษะได้ด้วย สำหรับการเล่นเป็นทีมนั้นหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญในแต่ละทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเล่นวอลเลย์บอลก็จะทำให้การเล่นเป็นทีมทำได้ยาก
ทักษะที่ 1 การอันเดอร์วอลเลย์บอล


ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่นมีลักษณะดังนี้

1. หงายมือทั้งสองข้าง                                  6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน
2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง                  7.กำมือทั้งสองข้าง
3.รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน                       8.นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน
4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด                             9.ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน
5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด

ท่าการอันเดอร์
1. ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่
2 ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า
3 ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า
4 จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล
ทักษะที่ 2 การส่ง ( เซ็ท )



 
การยกมือทั้งสองในการเซ็ต
1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ (10 เซนติเมตร)
2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กางนิ้วออกนิ้วงอเป็น
3. เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก
4. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสัมผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ..

ทักษะที่ 3 การตบลูกวอลเลย์บอล


1. การวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด
2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตกประมาณ 1 ฟุต
3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำหนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ
4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง
5. แขนขวาเงื้อไปข้างหลัง งอแขนเล็กน้อย แบมือ ตามองดูบอลตลอดเวลา
6. จังหวะที่จะตบ ให้กดไหล่ซ้ายลง พร้อมกับตบลูกบอลให้แรงส่งจากข้อมือ ศอก ไหล่ และลำตัว
7. ลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองในลักษณะย่อตัว

ทักษะที่ 4 การเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอล


 
การเสิร์ฟเป็นการรุกวิธีหนึ่งการแข่งขันจะเริ่มจากการเสิร์ฟเสมอ ลูกเสิร์ฟที่มีพลังและมีประสิทธิภาพ สามารถ ข่มคู่แข่งขันและเชิงความเป็นผู้คุมเกมการเล่นได้ด้วย จุดประสงค์ของการเสิร์ฟอยู่ที่การทำคะแนนโดยตรงทำลายยุทธวิธีการรุกของฝ่ายตรงข้ามลดภาระการตั้งรับของฝ่ายตน สร้างโอกาสที่ได้เปรียบในการตอบโต้ลูกเสิร์ฟที่ดีสามารถทำความหนักใจให้ฝ่ายตรงข้ามอันเป็นการทำลายขวัญและจิตใจของคู่แข่งขันทำให้เกิดความรวนเร ขาดความสัมพันธ์ในการรุกได้ทางหนึ่งด้วย ผู้เล่นจึงควรหาความชำนาญ โดยการฝึกหัดเสิร์ฟด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและดีที่สุด หรือตามความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน

หลักสำคัญในการเสิร์ฟ มีดังนี้ ท่าทางในการเสิร์ฟ
1. ตำแหน่งการยืน
2. การโยนลูกบอล
3. การเหวี่ยงแขน
4. จุดที่มือกระทบลูกบอล ท่าทางในการเสิร์ฟ ก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มทำการเสิร์ฟต้องรู้ตัวเองว่าตนเองถนัดเสิร์ฟท่าทางแบบใดตามที่ได้ฝึกฝนมา ถ้าเคยฝึกฝน หรือถนัดเสิร์ฟลูกท่าทางแบบใดต้องเสิร์ฟลูกตามแบบนั้นตลอดการแข่งขัน เพราการเปลี่ยนท่าทางการเสิร์ฟบ่อย ย่อมทำให้ประสิทธิภาพการเสิร์ฟเสียไป ตำแหน่งการยืน ก่อนที่จะเริ่มเสิร์ฟทุกครั้ง ผู้เล่นต้องยืนตามจุดหรือตำแหน่งที่เคยฝึกซ้อมมา มีผู้เล่นจำนวนมากที่ขาดความสังเกตในเรื่องนี้พอจับลูกบอลเข้ามายืนในเขตเสิร์ฟก็เสิร์ฟลูกไปตามใจตนเอง การยืนห่างจากเส้นหลังใกล้หรือไกลเพียงใด ยืนห่างจากมุมสนามมากน้อยเพียงใด ก็ต้องยืนที่จุดนั้นตลอดทุกครั้งที่ทำการเสิร์ฟ เพราะจะทำให้ความแรงความเร็วและทิศทางของลูกบอลเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการและทำให้การเสิร์ฟมีผลเสียน้อยด้วย การโยนลูกบอล ความสูงขณะโยนลูกบอลขึ้นต้องสม่ำเสมอ เช่น ความสูงจากมือที่โยน ประมาณ 3 – 4 ช่วงของลูกบอล ก็จะต้องโยนลูกบอลให้มีความสูงเช่นนี้ตลอดไปเพราะการโยนลูกสูงบ้างต่ำบ้าง ทำให้แรงที่ใช้ตีและทิศทางของลูกขาดความแม่นยำ


นอกจากนี้การโยนลูกใกล้ตัว ห่างตัวบ้าง เอียงไปซ้ายบ้างขวาบ้าง ก็ย่อมมีผลต่อการตีลูกบอลด้วย การเหวี่ยงแขน การเสิร์ฟให้ลูกบอลพุ่งไปตามทิศทางและมีความแรงตามที่ต้องการขึ้นอยู่กับการเหวี่ยงแขนด้วย ผู้เสิร์ฟเคยเหวี่ยงแขนในลักษณะใด มือห่างจากลูกบอลเท่าไรจะต้องทำอย่างนั้นทุกครั้งที่เสิร์ฟ จึงต้องฝึกฝนการเหวี่ยงแขนให้คล้ายกับเครื่องจักรที่มีจังหวะการทำงานอย่างสม่ำเสมอ จุดที่มือกระทบลูกบอล ลักษณะของมือและจุดที่มือกระทบลูกบอลต้องเหมือนกันทุกครั้งที่ตีลูกบอลในท่านั้น ด้วย เช่น การแบมือตีด้านหลังตรงส่วนกึ่งกลางของลูกบอล ก็ ต้องทำในลักษณะเช่นนี้ตลอดทุกลูกที่เสิร์ฟ        เพราะการออกแรงและจุดที่ตีลูกบอลแตกต่างกันก็ยอมทำให้ทิศทางของลูกบอลที่พุ่งออกไปแตกต่างกัน

ลักษณะของการเสิร์ฟ การเสิร์ฟโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ
1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง
2. การเสิร์ฟลูกมือบน



ทักษะที่5การสกัดกั้น ( ป้องกันการตบ )



               
1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่
2. มือทั้งสองยกขึ้นกางฝ่ามือออก
3. งอเข่าเล็กน้อย
4. ศีรษะตั้งตรงมองไปข้างหน้า
5. กระโดดขึ้นเพื่อสกัดกั้นลูกตบของฝ่ายตรงข้าม